ติวสอบ TU-GET

จัดส่งติวเตอร์โดย
ครูนุกกี้ ชัชชญา คอร์เรีย 
ปริญญาโท สาขาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาโท สาขาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

ติวเตอร์ตัวพ่อ-ตัวแม่ จากทั่วทุกหนแห่งทั้งในและต่างประเทศ นำทัพโดยติวเตอร์และครูฝีมือการสอนระดับแนวหน้า พร้อมให้บริการทั่วไทย ไกลทั่วโลก ทั้งแบบสอนนอกสถานที่และแบบออนไลน์สอนสดตัวต่อตัว เรียนแบบไหนก็เก่งขึ้นชัวร์! 


ติวเตอร์ขั้นเทพ กำลังทัพสำคัญที่พร้อมตะลุยการสอนเพื่อให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนสูงสุด พร้อมรับทั้งการติวสอบกลางภาค ติวสอบปลายภาค ติวสอบเข้า สอนเนื้อหาหลักและเนื้อหาเสริม ปรับพื้นฐานทุกวิชา ติวแข่งขันทุกประเภท ทั้งแบบสอนนอกสถานที่และแบบออนไลน์สอนสดตัวต่อตัว 

ผู้ปกครองและนักเรียนสามารถระบุเลือกคุณสมบัติของติวเตอร์ได้

ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยที่ติวเตอร์จบหรือกำลังศึกษาอยู่ ทั้งระดับชั้นปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ระบุเพศ อายุ ประสบการณ์ หรือแม้แต่บุคคลิกาพของติวเตอร์ มั่นใจได้ว่าท่านจะได้ติวเตอร์ที่ตรงใจที่สุดค่ะ


ทำความรู้จักกับ TU-GET

TU-GET หรือ Thammasat University Graduate English Test คือการทดสอบความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นข้อสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ต้องการจะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ ผู้ที่ต้องการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษของตนเอง

ลักษณะข้อสอบ

ข้อสอบ TU-GET แบ่งเป็น 3 พาร์ท ได้แก่

พาร์ทที่ 1 ความรู้ทางด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 25 ข้อ 250 คะแนน แบ่งออกเป็น

     1. Sentence Completion หรือการเติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

     2. Error Identification หรือการบ่งชี้ว่าตัวเลือกใดเป็นตัวเลือกที่ผิดกฎทางไวยากรณ์

พาร์ทที่ 2 ความรู้ทางด้านศัพท์ 25 ข้อ 250 คะแนน แบ่งออกเป็น

     1. ข้อสอบที่เว้นช่องว่างให้เติมคำศัพท์ที่ถูกต้องเหมาะสม

     2. ข้อสอบที่มีการขีดเส้นใต้คำในประโยคและให้เลือกคำที่มีความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

พาร์ทที่ 3 การอ่านเพื่อความเข้าใจ 50 ข้อ 500 คะแนน

     พาร์ทนี้ทิ้งน้ำหนักมาค่อนข้างมาก เป็นการวัดทักษะการอ่านเอาความและการอ่านตีความ

รวมทั้งหมด 100 ข้อ 1,000 คะแนน

เทคนิคการทำข้อสอบ TU-GET

ข้อสอบ TU-GET นั้นถือว่ามีความง่ายกว่าข้อสอบ TOFEL IELTS ค่ะ เพราะไม่มีพาร์ทเขียน พูด และฟัง ข้อสอบในส่วนไวยากรณ์นั้น หลักๆจะออกกฎไวยากรณ์เดิมๆ ซ้ำๆ เปลี่ยนโจทย์ แต่เนื้อหาหลักก็ไม่หนีไปไหน แน่นอนแหละว่าเรื่อง tense มาแน่นอน part of speech ก็หนีไม่พ้น การทำความเข้าใจกับหลักไวยากรณ์จะสำคัญๆ จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อสอบได้ว่า ข้อสอบข้อนั้นต้องการความรู้ในเรื่องใด สมมุติว่าเราวิเคราะห์ออกมาแล้วว่าข้อนั้นต้องการความรู้เรื่อง tense ก็ให้เราดูบริบทในประโยคว่า ควรเลือกใช้ tense ใดที่จะเหมาะสม การใช้ความรู้สึกหรือความคุ้นเคยในการทำข้อสอบส่วนนี้ อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะบางทีความรู้สึกความคุ้นเคยของเรา มันเกิดมาจากการใช้ผิดๆ ที่สะสมมานาน เพราะฉะนั้นต้องเตรียมตัวทำความเข้าใจกับไวยากรณ์ให้ดี ซึ่งในแต่ละ tense จะมี hint บอกเราว่ามันเป็น tense ไหนกันแน่ 

ในส่วนของพาร์ทศัพท์ นอกจากความหมายของศัพท์แล้ว เรายังจำเป็นต้องรู้เรื่องของ part of speech เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บางข้ออาจให้คำศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันมา แต่มี part of speech ที่แตกต่างกัน เราก็ต้องรู้อีกว่า ในตำแหน่งนั้น ต้องการศัพท์ที่มากจาก part of speech ใด ข้อสอบส่วนใหญ่จะมาจากหนังสือพิมพ์ เพราะฉะนั้นเราสามารถสะสมคลังศัพท์ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ได้ ก็จะช่วยได้เยอะเลย เพราะบางคนบอกว่า ไม่รู้จะเลือกท่องอะไร ศัพท์มันเยอะแยะไปหมด เอาเป็นว่า ก็ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ก็แล้วกัน พยายามตัดคำที่เรารู้แน่ๆว่าไม่ใช่ออกไปก่อน ที่เหลือก็อาจจะต้องเดากันบ้าง ในกรณีที่เหลือสักสองชอยส์แล้วไม่รู้ความหมายของมันจริงๆ แต่ถ้าไม่รู้เลยสักตัวเลือก อันนี้ก็น่าจะลำบากสักนิด

ในส่วนของพาร์ทอ่าน น่าจะเป็นพาร์ทที่ยากที่สุด เพราะเรื่องที่ให้อ่าน ก็ยาวพอสมควร วิธีการที่หลายๆคนใช้กันก็คือ อ่านโจทย์ก่อน แล้วค่อยกวาดสายตาหาว่าคำตอบควรจะอยู่ส่วนใดของเนื้อเรื่องที่ให้อ่าน โดยอาศัยการหา hint แล้วอ่านบริบทข้างเคียง เมื่อแน่ใจแล้วว่าน่าจะมาจากส่วนนั้น ทีนี้ก็ focus ในส่วนนั้นๆลงไปเสียหน่อย ก็จะช่วยประหยัดเวลาได้เยอะเลยทีเดียว คำถามหลักๆ ก็คงไม่พ้นการถามหา main idea ซึ่งเป็นลักษณะที่มักปรากฏในข้อสอบอ่าน ข้อนี้ควรเลือกทำเป็นข้อสุดท้าย เพราะถ้าทำข้ออื่นๆก่อน อาจจะช่วยเดา main idea ออกได้ง่ายขึ้น ข้ออื่นๆ ก็อาจจะถามลักษณะที่เป็นการ infer นั่นก็คือ เนื้อเรื่องไม่ได้กล่าวตรงๆ แต่สื่อความหมายว่าอย่างไรได้ ทำนองนั้น ยังรวมไปถึงการถามความหมายของศัพท์บางตัว อันนี้ต้องอาศัยบริบทข้างเคียงในการเดาความหมาย 

เทคนิคการทำข้อสอบนั้น ถ้าจะว่ากันโดยละเอียด เขียนอธิบายออกมาคงได้ตำรากันสักเล่ม น้องๆ อาจจำเป็นต้องได้ใช้ตัวช่วยอย่างติวเตอร์ ที่จะมาช่วยอธิบายและชี้ให้เห็นถึงเทคนิคของแต่ละข้อ แต่ละพาร์ทกันให้เห็น การนำข้อสอบเก่าๆมาฝึกทำเอง บางทีเราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคำตอบถึงเป็นเช่นนั้น ดูได้จากอะไร จะรู้ได้อย่างไร ติวเตอร์ของเรามีคำตอบให้น้องๆค่ะ อาจต้องใช้เวลากันสักหน่อย เพราะรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่เมื่อรู้เทคนิคแล้ว ก็จะกลายเป็นเรื่องกล้วยๆไปเลยแหละค่ะ

ติดต่อพูดคุยกับครูนุกกี้ได้โดยตรง โดยกดที่รูป Add Friends ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
 
                                               เพิ่มเพื่อน           
                                         

รับติวสอบ TU-GET ที่บ้าน/นอกสถานที่ เน้นเทคนิคพิชิตข้อสอบ ติวเข้มข้น พร้อมปูพื้นฐาน โดยติวเตอร์ขั้นเทพจากธรรมศาสตร์ ราคาเพียง 350 บาท/ชม.

Visitors: 143,007