ติวสอบ TOEFL

จัดส่งติวเตอร์โดย
ครูนุกกี้ ชัชชญา คอร์เรีย 
ปริญญาโท สาขาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาโท สาขาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

ติวเตอร์ตัวพ่อ-ตัวแม่ จากทั่วทุกหนแห่งทั้งในและต่างประเทศ นำทัพโดยติวเตอร์และครูฝีมือการสอนระดับแนวหน้า พร้อมให้บริการทั่วไทย ไกลทั่วโลก ทั้งแบบสอนนอกสถานที่และแบบออนไลน์สอนสดตัวต่อตัว เรียนแบบไหนก็เก่งขึ้นชัวร์! 


ติวเตอร์ขั้นเทพ กำลังทัพสำคัญที่พร้อมตะลุยการสอนเพื่อให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนสูงสุด พร้อมรับทั้งการติวสอบกลางภาค ติวสอบปลายภาค ติวสอบเข้า สอนเนื้อหาหลักและเนื้อหาเสริม ปรับพื้นฐานทุกวิชา ติวแข่งขันทุกประเภท ทั้งแบบสอนนอกสถานที่และแบบออนไลน์สอนสดตัวต่อตัว 

ผู้ปกครองและนักเรียนสามารถระบุเลือกคุณสมบัติของติวเตอร์ได้

ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยที่ติวเตอร์จบหรือกำลังศึกษาอยู่ ทั้งระดับชั้นปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ระบุเพศ อายุ ประสบการณ์ หรือแม้แต่บุคคลิกาพของติวเตอร์ มั่นใจได้ว่าท่านจะได้ติวเตอร์ที่ตรงใจที่สุดค่ะ

TOEFL คืออะไร

TOEFL หรือ Test of English as a Foreign Language เป็นข้อสอบเพื่อประเมินทักษะภาษาอังกฤษของผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เน้นหนักที่การวัดทักษะและความสามารถในการสื่อสาร เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการศึกษาต่อ หรือเข้าทำงานในประเทศ ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร โดยผลสอบของโทเฟลจะใช้ได้เป็นระยะเวลา 2 ปี

TOEFL สอบอะไรบ้างและมีเทคนิคในการทำข้อสอบอย่างไร

จะมีการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน และในบางพาร์ทต้องผสมทักษะต่างๆ เข้าด้วยกันในการใช้ตอบคำถาม โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่งสำหรับการสอบ ท้้ง 4 พาร์ท คะแนนรวม 120 คะแนน ก็คือพาร์ทละ 30 คะแนนนั่นเอง

องค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการสอบ คือ ETS หรือ Educational Testing Service ซึ่งการสอบปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนจากระบบเดิมคือ CBT (Computer Based Test) และ PBT (Paper Based Test) มาเป็นแบบ iBT (Internet Based Test) และหากเกิดเหตุที่ไม่สามารถใช้ระบบ iBT ได้ ก็จะใช้ระบบ PBT มาทำการทดสอบแทน

ทีนี้มาดูกันค่ะ ว่าแต่ละพาร์ทมีอะไรกันบ้าง

     1. Reading (การอ่าน) ข้อสอบจะมีบทความให้อ่านประมาณ 3-5 บทความ และมีคำถามแต่ละบทความประมาณ 12-14 ข้อ รวมทั้งหมด 39-40 ข้อ ใช้เวลาประมาณ 60-100 นาที 

     เนื้อเรื่องหรือบทความจะเป็นในเชิงวิชาการ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เช่นเรื่อง ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา โบราณคดี จิตวิทยา วรรณกรรม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องราวที่หนักเอาการ ยิ่งถ้าน้องๆ มีคลังศัพท์น้อยแล้วละก็ ต้องเตรียมท่องจำศัพท์กันอย่างมากเลยทีเดียว ลักษณะคำถามหลักๆ จะถามใจความสำคัญของเรื่อง การตีความ ความหมายของศัพท์ การเรียบเรียงประโยคใหม่แต่ได้ใจความเหมือนเดิม คำตอบจะเป็นแบบ multiple choices

     การทำข้อสอบในพาร์ทนี้ นอกจากในเรื่องของการเตรียมตัวเรื่องศัพท์แล้ว น้องๆควรฝึกจับเวลาในการทำข้อสอบด้วย อย่าอ่านบทความทั้งหมด เพราะไม่ทันเวลาแน่ๆ ให้น้องๆ ข้ามไปอ่านคำถามก่อนเลย ว่าต้องการถามอะไร ข้อสอบจะเรียงตามเนื้อหา เพราะฉะนั้นคำถามแรก ก็จะอยู่ส่วนต้นๆ ของบทความ แต่ละย่อหน้า จะถามประมาณไม่เกิน 3 ข้อ จะช่วยให้เราเดาได้ว่า เราควรอ่านส่วนไหนของบทความ โดยกวาดสายตาหาคำที่เป็น key words แล้วอ่านประโยคข้างเคียง เชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้น้องๆทำข้อสอบได้เร็วขึ้น แต่อย่างที่กล่าวไปตอนต้น ในเรื่องของคำศัพท์ หากรู้ความหมายของศัพท์น้อย การอ่านแบบ skim scan ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ ไม่ต่างอะไรกับการที่เราไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น แล้วพยายามกวาดสายตาไปที่บทความ กวาดไปก็เท่านั้น เพราะไม่รู้ศัพท์เลยสักตัว อย่างน้อย เราควรรู้ความหมายของศัพท์ในแต่ละบทความ 60-80% ไม่งั้น ยากค่ะ ที่จะทำให้ได้คะแนนสูงๆ จำไว้ค่ะ "ศัพท์คือทางรอด"

     2. Listening (การฟัง) แบ่งเป็นการฟังบรรยาย (Lectures) 4-6 เรื่อง ตอบคำถามประมาณ 6 ข้อต่อเรื่อง และฟังบทสนทนา (Conversation) 2-3 บท ตอบคำถาม 5 ข้อในแต่ละบท ใช้เวลา 60-90 นาที

     ในส่วนของการฟังบรรยาย คำถามในส่วนนี้ อาจจะวัดความจำจากเรื่องที่ฟังมาด้วยนะคะ แต่บ้างเล็กน้อย ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ เน้นวัดความเข้าใจในเรื่องที่ฟัง และการตีความจากสิ่งที่ได้ยิน ส่วนการฟังบทสนทนา มักจะเป็นบทสนทนาของนักศึกษากับนักศึกษาด้วยกันเอง หรืออาจจะเป็นักเศึกษากับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย หรือนักศึกษากับอาจารย์ คำถามจะวัดความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน และอาจมีคำถามที่เกี่ยวกับความรู้สึกของคนในบทสนทนาด้วยว่าผู้พูดรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร

     ในการทำข้อสอบพาร์ทฟัง น้องๆต้องหมั่นฝึกฟังให้มาก ทักษะการฟังเป็นทักษะส่วนบุคคล ที่มีจากประสบการณ์ หากไม่มีการฝึกฟังมาโดยอย่างดี พาร์ทนี้จะโหดและหินมาก เนื่องจากน้องๆ ไม่คุ้นเคย ระหว่างการสอบ พยายามอย่าจดทุกสิ่งที่ได้ยิน ให้ทำการ short note เท่านั้น โดยอาศัยการเขียน key words ไม่งั้นจะทำให้สมาธิเราเขวได้ และอาจทำให้เราฟังไม่ทันในที่สุด

     3. Speaking (การพูด) จะให้พูดทั้งหมด 6 หัวข้อ ได้แก่ 

     หัวข้อที่ 1 และ 2 เป็นเรื่องราวที่คุ้นเคย ทั่วๆไป อาจเป็นประสบการณ์หรือความคิดเห็นส่วนตัวของผู้สอบ มีเวลาในการเตรียมตอบคำถาม 15 วินาทีในแต่ละหัวข้อ และเวลาในการตอบ 45 วินาทีในแต่ละหัวข้อ

     หัวข้อที่ 3 และ 4 ผู้สอบจะได้อ่านข้อความสั้นๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากนั้นจะได้ฟังบทสนทนาหรือการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แล้วผู้สอบจะต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้อ่านและได้ฟัง โดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด มีเวลาเตรียมตอบคำถาม 30 วินาที และใช้เวลาตอบคำถามหัวข้อละ 60 วินาที

     หัวข้อที่ 5 และ 6 ผู้สอบจะได้ฟังบทสนทนาเพื่อการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ หรือฟังบรรยายเชิงวิชาการ แล้วตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ฟัง โดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด และตอบคำถามที่เหมาะสม มีเวลาเตรียมตัวในการตอบ 20 วินาที มีเวลาตอบคำถาม 60 วินาทีในแต่ละหัวข้อ

     การสอบในพาร์ทนี้ อาจฝึกพูดในแพทเทิร์นซ้ำๆ สำหรับการใช้เกริ่นนำ การสรุป อาจทำให้น้องๆมั่นใจในการตอบมากขึ้น พยายามลำดับความคิด โดยใช้คำจำพวก Firstly, Secondly, Thirdly การพูดของเราก็จะไม่วกไปวนมา อย่าลืมในเรื่องของเวลา อันนี้สำคัญไม่แพ้กัน การซ้อมจับเวลาที่บ้าน จะทำให้เราลดความกังวลได้มากเลยทีเดียว ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง สมาธิค่ะ อย่าว่อกแวก ตั้งสมาธิอยู่กับการสอบให้ได้มากที่สุด ลดความตื่นเต้นด้วยการคิดบวกค่ะ บอกตัวเอง ฉันทำได้!

     4. Writing (การเขียน) มี 2 หัวข้อ หัวข้อแรกเขียนเกี่ยวกับสิ่งได้อ่านและได้ฟัง ผู้สอบจะได้อ่านบทความทางวิชาการประมาณ 3 นาที และฟังการบรรยายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะต้องเขียนตอบสรุปบรรยายหรือแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้อ่านและได้ฟัง เขียนประมาณ 150-220 คำ ใช้เวลา 20 นาที และอีก 1 หัวข้อเกี่ยวกับการสนับสนุนความคิดเห็นของหัวเรื่องที่ให้มา ผู้สอบจะได้อ่านประโยคสั้นๆ และตอบคำถามโดยการเขียนบรรยายหรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลสอดคล้องกับสิ่งที่ได้อ่าน โดยต้องเขียนอย่างน้อย 300 คำ ใช้เวลา 30 นาที

     แน่นอนค่ะ Grammar คือประเด็นแรกที่จะต้องถูกพูดถึงในพาร์ทเขียน แล้วก็เป็นเรื่องที่เยอะวุ่นวายสมองเหลือเกิน น้องๆควรตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปค่ะ เหลือคงไว้สำหรับ Grammar พอให้หากินได้ก็พอ อย่าเช่น ในเรื่องของ Tense มีเพียง Present Simple, Past Simple, Future Simple, Present Perfect, Present Continuous, และ Past Continuous แค่ 6 Tenses นี้ก็หากินได้สบายๆ อีก 6 tense ที่เหลือช่างมันก่อนค่ะ ถ้ามันล้นสมองเกินไป แล้วก็จำพวก การเติม s, es การใช้ article อย่าตกม้าตายกันเพราะส่วนนี้แล้วกันนะคะ 

     การทำข้อสอบเขียนหัวข้อแรก เวลาฟังอย่าไปจดอะไรมาหมดซะทุกอย่าง เอาแต่ข้อมูลหลักๆพอค่ะ จำไว้ว่าตอนอ่านจะเป็นประเด็นหนึ่ง ที่จะถูกหักล้างจากเรื่องที่ให้ฟัง เพราะฉะนั้นพยายามจดเฉพาะเรื่องที่คิดว่า น่าจะโดนขัดแย้งแน่ๆ พอตอนฟัง เจออะไรที่มาหักล้างจากเรื่องที่อ่าน ก็จดไว้ข้างๆ กัน จะได้ลำดับความคิดได้ง่ายขึ้นค่ะ

     การทำข้อสอบเขียนหัวข้อที่สอง ซึ่งเป็นลักษณะให้แสดงความคิดเห็น พยายามอย่าเขียนเป็นกลางเลยค่ะ เขียนยาก เพราะน้องๆต้องพยายามคิดเหตุผลทั้งสองประเด็น ทิ้งน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่งไปเลย แล้วหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของเราให้มีน้ำหนัก พยายามคิดว่า เวลาเราเขียนไอเดียอะไรออกไป ผู้อ่านจะถามเสมอว่า How do you know? Why do you think that? เพราะฉะนั้นเราต้องเขียนประโยคสนับสนุนไอเดียของเรา เพื่อให็ผู้อ่านเชื่อในสิ่งที่เราเขียน จะเขียนขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีน้ำหนัก หรือไม่มีอะไรมาพิสูจน์ไม่ได้

     

     หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับน้องๆบ้างนะคะ หากต้องการรับคำปรึกษาหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ติดต่อเข้ามาได้ตลอด 24 ค่ะ จุฬาติวเตอร์เอ็กเพรส มีติวเตอร์ที่จะช่วยติวข้อสอบให้น้องๆ ซึ่งเป็นติวเตอร์ที่ชำนาญกับข้อสอบ TOEFL มาเป็นอย่างดี รวมทั้งจะช่วยปูพื้นฐานให้น้องๆที่พื้นฐานไม่ค่อยแน่นเท่าไหร่ด้วยนะคะ น้องๆแต่ละคนย่อมมีจุดแข็ง จุดอ่อน ต่างกัน ติวเตอร์ของเราพร้อมที่จะให้ปรึกษา แนะนำ เพื่อให้น้องๆก้าวไปสู่จุดหมายได้ง่ายขึ้นค่ะ

ติดต่อพูดคุยกับครูนุกกี้ได้โดยตรง โดยกดที่รูป Add Friends ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
 
                                               เพิ่มเพื่อน           
                                         

รับติวสอบ TOEFL ที่บ้าน/นอกสถานที่ เน้นเทคนิคพิชิตข้อสอบ ติวเข้มข้น พร้อมปูพื้นฐาน โดยติวเตอร์ขั้นเทพจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ราคาเพียง 350 บาท/ชม.